การเล่นเปียโน ต้องแยกประสาทมือและจำตัวโน๊ตซึ่งเป็นอะไรที่เหนื่อยมากแต่ก็ ok สนุกดี มาเริ่มทบทวน basic กัลล
จังหวะห้วงๆของการกดลิ่มเปียโนเป็นพื้นฐานของดนตรีที่กำหนดช่วงเวลา ซึ่งเกี่ยวพันกับคณิตศาสตร์โดยตรง
ดูการเปรียบเทียบโน๊ต เป็นแผนภูมิ แบบคณิตศาสร์ เป๊ะ! ...(ใครบังเอิญ เก่งคณิตศาสตร์กับฟิสิกส์จะไปได้เร็วและลึกซึ้งขึ้นจริงๆ 555)
เรามาทบ ทวน ตัวโน๊ต พื้นฐาน กัน เอาแบบเทียบกับคณิตศาสตร์ได้ 4 จังหวะนะ ^ ^
time signature แบบ แบ่งออกเป็น
ตัวแรก ตัวกลม จังหวะ = 1 กดลิ่มเปียโน 1 ครั้ง = 4
ตัวที่สอง เรียกตัวขาว จังหวะ = 1/2 ของ ตัวกลม กดลิ่มเปียโน 1 ครั้ง = 2
ตัวที่สามเรียกตัวดำ จังหวะ = 1/4 ของตัวกลม และ 1/2 ของตัวขาว กดลิ่มเปียโน 1 ครั้ง = 1
ตัวที่สี่เรียก ตัวขะเบ็ดชั้นที่ 1 (มันจะทำให้แต่งเพลงได้เเพรวพราวขึ้นหลากหลายขึ้น) = 1/8 ของตัวกลม , 1/4 ของตัวขาว กดลิ่มเปียโน 1 ครั้ง = 1/2
ตัวที่ห้าเรียกตัวขะเบ็ดสองชั้น จังหวะจะ = 1/16 ของ ตัวกลม 1/8 ของตัวขาววว กดลิ่มเปียโน 1 ครั้ง = 1/4
ok คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ ต้องไปซ้อมๆๆๆ ไล่กับเปียโนเอง ...มันส์นะจาบอกให้ ^___^
คำส่งท้าย บทความนี้นะ
เจ้าชาย, สิ่งที่ท่านเป็นนั้นอุบัติมาโดยเหตุบังเอิญแห่งการกำเนิด
สิ่งที่ข้าพเจ้าเป็นนั้นเกิดมาด้วยความอุตสาหะของข้าพเจ้าเอง
มีเจ้าชายเกิดขึ้นมาแล้วหลายร้อยพระองค์ และจะมีอีกนับพัน
แต่จะมีเบโธเฟนแค่หนึ่งเดียว
ลุดวิก ฟอน เบโทเฟ่น (Ludwig von Beethoven)
ขอบคุณ ครูอาจารย์และแม่ที่สนับสนุนให้หนูได้เรียนรู้การเล่นดนตรี และรักเสียงดนตรี ลุดวิก ฟอน เบโทเฟ่น สำหรับหัวใจที่กล้าหาญและเป็อมตะ everyone who owned these pics อายุมายไอดัลและทุกคนบนโลกนี้ที่ดีกับชั้น ^ ^
ส่งท้ายกับmusic is in the air...ดนตรีมีอยู่ทุกที่รอบๆตัวเราน๊าาา ^___^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น